เมนู

ราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกูฏโมรกติสสกะ
พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะพระ-
โกกาลิกะ พระกูฎโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัต
ว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่
พระสมณโคดม
เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะได้กล่าวคำนี้กะ
พระเทวทัตว่า อาวุโส พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก
ไฉนเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมได้เล่า

วัตถุ 5 ประการ


พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักเข้าเฝ้า
พระสมณโคดม ทูลขอวัตถุ 5 ประการว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความ
ขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ 5 ประการนี้
เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด
อาการที่น่าเสื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส 1. ภิกษุ
ทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุ
นั้น 2. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการ
นิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 3. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุลตลอด
ชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 4. ภิกษุทั้งหลาย

ควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุ
นั้น 5. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลา
และเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น พระสมณโคดม จักไม่ทรงอนุญาต
วัตถุ 5 ประการนี้ พวกเราทั้งนั้นจักโฆษณาให้ชุมชนเชื่อถือด้วยวัตถุ 5
ประการนี้ อาวุโสทั้งหลาย พวกเราสามารถที่จะกระทำสังฆเภท จักรเภท
แก่พระสมณโคดมได้ เพราะวัตถุ 5 ประการนี้แล เพราะคนทั้งหลาย
เลื่อมใสในลูขปฏิบัติ.
[591] ครั้งนั้น พระเทวทัตพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ 5
ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความ
กำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย
อเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระ-
วโรกาส 1. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่
โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 2. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต
ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 3. ภิกษุทั้งหลายควร
ถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
4. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษ

พึงถูกต้องภิกษุนั้น 5. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต
ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าห้ามว่า อย่าเลย เทวทัต ภิกษุใดปรารถนา
ก็จงอยู่ป่า ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่บ้าน ภิกษุใดปรารถนา ก็จงเที่ยว
บิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีการนิมนต์ ภิกษุใดปรารถนา
ก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีผ้าคหบดี ดูก่อนเทวทัต
เราอนุญาตรุกขมูลเสนาสนะตลอด 8 เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและ
เนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ 3 อย่าง คือ 1. ไม่ได้เห็น 2. ไม่ได้ยิน 3.
ไม่ได้รังเกียจ.
[592] ครั้งนั้น พระเทวทัตร่าเริงยินดีเป็นอย่างยิ่งว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาตวัตถุ 5 ประการนี้ แล้วพร้อมด้วยบริษัท ลุก-
จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณหลีกไป
ต่อมา เธอพร้อมด้วยบริษัทเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ โฆษณาให้ประชาชน
เชื่อถือด้วยวัตถุ 5 ประการว่า อาวุโสทั้งหลาย เราเข้าเฝ้าพระสมณโคดม
ทูลขอวัตถุ 5 ประการว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญ
คุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการ
ที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ 5 ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความ
สันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม
การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระ-
พุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส 1. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต
ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 2. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยว

บิณฑบาตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
3. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี
โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 4. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุ
ใดอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น 5. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลา
และเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น
พระสมณโคดมไม่ทรงอนุญาตวัตถุ 5 ประการนี้ พวกเราเท่านั้นสมาทาน
ประพฤติวัตถุ 5 ประการนี้อยู่.
[593] บรรดาประชาชนชาวพระนครราชคฤห์นั้น จำพวกที่ไม่มี
ศรัทธา ไม่เลื่อมใส มีความรู้ทราม พากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะ
เชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้แล เป็นผู้กำจัด มีความประพฤติขัดเกลา
ส่วนพระสมณโคดมเป็นผู้มีความมักมาก ดำริเพื่อความมักมาก
ส่วนประชาชนจำพวกที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นบัณฑิต มีความรู้สูง ต่าง
พากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัตจึงได้ตะเกียกตะกาย
เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ
ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระ-
เทวทัตจึงได้ตะเกียกตะกายเพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร
เล่า แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะ